ค่าเงิน (Currency)

ค่าเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน

–          THB   บาทไทย

–          LAK   กีบลาว

–          BND   ดอลลาร์บรูไน

–          KHR   เรียลกัมพูชา

–          IDR    รูเปียห์อินโดนีเซีย

–          MYR   ริงกิตมาเลเซีย

–          MMK  จ๊าตพม่า

–          PHP   เปโซฟิลิปปินส์

–          SGD   ดอลลาร์สิงคโปร์

–          VND   ดองเวียดนาม

อาเซียน +6

–          RBM   หยวนจีน

–          KRW   วอนเกาหลีใต้

–          JPY    เยนญี่ปุ่น

–          AUD   ดอลลาร์ออสเตรเลีย

–          INR    รูปีอินเดีย

–          NZD   ดอลลาร์นิวซีแลนด์

สำคัญๆ

–          GBP   ปอนด์อังกฤษ

–          EUR   ยูโร

–          USD   ดอลลาร์สหรัฐ

–          CHF   ฟรังสวิส

–          RUB   รูเบิลรัสเซีย

–          KWD คูเวตดินาร์

เงินเฟ้อ (Inflation) เป็นภาวะที่ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ของที่เราเคยซื้ออยู่ก็ปรับราคาสูงขึ้น กล่าวคือ เงินมากซื้อของได้น้อย จากเดิมซื้อ ลูกอม 2 เม็ด ใช้เงิน 1 บาท แต่ตอนนี้ใช้เงิน 1 บาท ซื้อลูกอมได้เม็ดเดียว

ทำให้ผู้ผลิตได้เปรียบ ผู้มีรายได้ประจำเสียเปรียบ

เงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ราคาสินค้าลดลงอย่างต่อเนื่อง ของที่เราเคยซื้ออยู่ก็ปรับราคาลงมา กล่าวคือ เงินน้อยซื้อของได้มาก จากเดิมซื้อ ทอง 1 บาท ราคา 10000 บาท แต่ตอนนี้ใช้เงิน 8000 บาทเพื่อซื้อทอง

ดุลยภาพ (Equilibrium) ณ จุดนี้จะไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างเงินเฟ้อกับเงินฝืด

การแบ่งช่วงของเงินเฟ้อ-เงินฝืด

–          0%<x<5%     = อย่างอ่อน     

–          5%<x<20%    = ปานกลาง

–          20%<x<50%  = รุนแรง

*** ประเทศไทยเฟ้อฝืด 3% ดีที่สุด

ใส่ความเห็น