นโยบายการกำหนดราคา

นโยบายการกำหนดราคาขั้นต่ำ (Minimum Price Policy)

นโยบายการกำหนดราคาขั้นต่ำ เป็นนโยบายที่มุ่งช่วยผู้ผลิตให้สามารถขายสินค้าได้สูงขึ้น มักใช้อยู่ทั้งในตลาดสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร และตลาดปัจจัยการผลิตเช่น ตลาดแรงงาน เนื่องจากตลาดเหล่านี้ ผู้ผลิตหรือเจ้าของปัจจัยการผลิตไม่มีอิทธิพลในการกำหนดราคา และมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ต้องยอมขายสินค้าในราคาที่ค่อนข้างต่ำจากความไม่สมบูรณ์ของตลาดดังกล่าว หากปล่อยให้กลไกตลาดทำงานโดยเสรีแล้ว จะมีผลให้ราคาดุลยภาพอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม รัฐบาลจึงต้องเข้ามาแทรกแซงกลไกตลาดโดยการกำหนดราคาขั้นต่ำ

กล่าวคือ เป็นการทำให้ราคาของที่มีราคาต่ำเป็นของที่มีราคาสูงขึ้น

นโยบายการกำหนดราคาขั้นสูง (Maximum Price Policy)

นโยบายกำหนดราคาขั้นสูงมักใช้ในกรณีของสินค้าที่ผู้บริโภคทุกระดับรายได้จำเป็นต้องซื้อ เช่น นมผงสำหรับทารก น้ำตาลทราย น้ามันเบนซิน ฯลฯ เป็นต้น

กล่าวคือ เป็นการทำให้ราคาของที่มีราคาสูงเป็นของที่มีราคาต่ำลง

ตลาด (Market) เป็นสถานที่ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายมาติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการกัน

ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์

–          ไม่จำเป็นที่จะต้องมีสถานที่เพื่อมาตกลงซื้อขายกัน

–          ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการพบกัน เช่น ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตลาดหลักทรัพย์

การบริการส่งถึงที่ (Delivery) และ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)

ประเภทของตลาด แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competitive Market)

ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfect Competitive Market)

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์

–          มีจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจำนวนมาก

–          สินค้าที่ขายในตลาดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ จึงทำให้ไม่มีผู้ซื้อและผู้ขายรายใดสามารถกำหนดราคาของสินค้าในตลาดได้ ดังนั้นผู้ซื้อผู้ขายในตลาดแข่งขันสมบูรณ์จึงต้องยอมรับราคาที่ตลาดกำหนดหรือเรียกว่าเป็น Price Taker

–          ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดได้อย่างเสรี โดยมีกำไรเป็นแรงจูงใจ

–          มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิตสินค้าและบริการได้อย่างเสรี

–          ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้ และรับทราบข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะเรื่องราคาได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่าง ตลาดสินค้าทางการเกษตร ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์และเงินตราต่างประเทศ (Forex Trading)

“ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าตลาดแข่งขันสมบูรณ์เป็นตลาดในอุดมคติ”

ตลาดแข่งขันไม่สมบูณ์

          หมายถึงตลาดที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายมีอิทธิพลในการกำหนดราคาหรือปริมาณซื้อขายสินค้ากันบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับความไม่สมบูรณ์ของตลาดจะมีมากน้อยเพียงใด ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

–          ตลาดผูกขาดสมบูรณ์ (Monopoly)

–          ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)

–          ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผู้กขาด (Monopolistic Competition)

ตลาดผูกขาด หมายถึง ตลาดที่มีผู้ผลิตหรือผู้ขายเพียงรายเดียวโดยสินค้าและบริการในตลาดเป็นสินค้าที่ไม่มีสินค้าอื่นใดมาทดแทนกันได้เลย เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง

ตลาดผู้ขายน้อยร้าย มีผู้ขายหรือผู้ผลิตจำนวนน้อย ผู้ผลิตในตลาดผู้ขายน้อยรายมักไม่ต้องการร่วมมือกับผู้ผลิตรายอื่น และคำนึงถึงผลกำไรที่จะได้รับ จึงต้องสนใจแนวทางการดำเนินงานของคู่แข่งด้วย

ตัวอย่าง น้ำมัน : ปตท เอสโซ่ บางจาก

โทรศัพท์มือถือ : ไอโฟน ซัมซุง แบล็คเบอรี่

รถยนต์ : ฮอนด้า โตโยต้า อิซูซุ

ซีเมนต์ : ซีแพค ทีพีไอ

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด มีผู้ขายหรือผู้ผลิตในตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มากเท่ากับตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ผู้ผลิตแต่ละรายได้ส่วนแบ่งตลาดน้อย จึงไม่สามารถมีอิทธิพลต่อการกำหนดราคา สินค้ามีลักษณะแตกต่างกัน ความแตกต่างนี้อาจเกิดจากรูปลักษณ์หรือเกิดขึ้นในความรู้สึกของผู้ซื้อ โดยที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดได้อย่างเสรี

ตัวอย่าง สบู่ : ลักซ์ นกแก้ว อิมพีเรียล

ยาสีฟัน : คอลเกต ดาร์ลี่ กลิสเตอร์

ชาเขียว : อิชิตัน โออิชิ

ลูกอม : ฮอน คูก้า มายมิ้นท์

น้ำปลา : ทิพรส ตราปลาหมึก

ใส่ความเห็น